มงคล 38 ประการ




มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน
มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา
มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ
มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร
เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล
มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก
มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา
มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต
การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี
มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ
มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ

ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน
มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง
มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง


มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร
เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ
มงคลที่ 25 มีความกตัญญูกตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน
มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร
มงคลที่ 27 มีความอดทน
ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล
มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย
ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา
มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี
มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร
มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์
มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล



มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจการรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร
มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก
มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ
มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง
มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส
หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม
มงคลที่ 38 มีจิตเกษมจิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร  






คำกลอนธรรมะสอนใจ 


ส่วนใหญ่ของท่านพุทธทาส ท่านใดมีเพิ่มก็เอามาลงต่อละกันครับ ของครูบาอาจารย์ท่านอื่นก็ได้ ใช้กลอนสอนธรรมเข้าถึงใจง่ายดี เป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น

มองอะไร มองให้เห็น เป็นครูสอน
มองไม้ขอน หรือมองคน มองค้นหา
มองเห็นความ เสมอกัน มีปัญญา
มองเห็นว่า ล้วนมีพิษ: อนิจจัง 
มองทุกข์สุข ก็จงจ้อง มองให้ดี
มองว่าเป็น อย่างที่ คนเราหวัง
มองว่าเป็น ตามปัจจัย ให้ระวัง
มองจริงจัง ก็จักเห็น เป็นธรรมดา 
มองโดยนัย ที่มันสอน จะถอนโศก
มองเยกโยก มันไม่สอน ร้อนเป็นบ้า
มองไม่เป็น โทษผีสาง นางไม้มา
มองถูกท่า ไม่คว้าทุกข์: มองถูกจริง!
-------------------------------------------------

ร้ายอะไร ไม่ร้ายเท่า จะเอาดี
เป็นธุลี จับจิต เกิดริษยา
ชิงดีแล้ว อวดเด่น เห็นออกมา 
ตัวกูจ้า บ้าคลั่ง สังเวชใจ 
สร้างนรก เป็นที่อยู่ เพราะเหตุนี้ 
"ตัวกูดี, ตัวกูเด่น" เห็นหรือไม่?
กลัวหมดดี จุดจี้ ให้เกิดไฟ 
"เผาตัวเอง" ต่อไป เศร้าใจเอย ฯ 
(นี่แหล่ะตัวกู ของกู)
-------------------------------------------------

เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง 
เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน
ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน 
ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ 
ถ้ามีครบ ควรเรียกมนุสสา
เพราะทำถูก พูดถูกทุกเวลา 
เปรมปรีดา คืนวันสุขสันต์จริง
ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า 
ใครมีเข้า ควรเรียกว่าผีสิง
เพราะพูดผิดทำผิด จิตประวิง 
แต่ในสิ่งนำตัว กลั้วอบาย
คิดดูเถิดถ้าใคร ไม่อยากตก 
จงรีบยก ใจตนรีบขวนขวาย
ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย 
ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอยฯ
-------------------------------------------------

ตากับตีน อยู่กันมา แสนผาสุข 
จะนั่งลุกยืนเดิน เพลินหนักหนา
มาวันหนึ่ง ตีนทะลึ่ง เอ่ยปรัชญา 
ว่าตีนมีคุณแก่ตา เสียจริงๆๆ
ตีนช่วยพา ตาไป ที่ต่างๆๆ 
ตาจึงได้ชมนาง และสรรพสิ่ง
เพราะฉะนั้นดวงตา จงประวิง 
ว่าตีนนี้เป็นสิ่ง ควรบูชา
ตาได้ฟังตีนคุยโม้ ก็หมั่นไส้ 
จึงร้องบอกออกกไป ด้วยโทสา
ว่าที่ตีนเดินไปได้ ก็เพราะตา 
ดูมรรคา เศษแก้วหนาม ไม่ตำตีน
เพราะฉะนั้น ตาจึงสำคัญกว่า 
ตีนไม่ควรจะมาคิดดูหมิ่น
สรุปแล้ว ตามีค่า สูงกว่า ตีน 
ทั่วธานินทร์ ตีไปได้ก็เพราะตา
ตีนได้ฟัง ให้คั่งแค้น แสนจะโกรธ
วิ่งกระโดดโลดไปใกล้หน้าผา
เพราะอวดดี คุยเบ่ง เก่งกว่าตา 
ดวงชีวา จะดับไป ไม่รู้เลย
ตาเห็นตีน ทำเก่งเร่งกระโดด 
ก็พิโรธ แกล้งระงับ หลับตาเฉย
ตีนพาตา ถลาล้ม ทั้งก้มเงย 
ตกแล้วเหวย หน้าผา ทั้งตาตีน
-------------------------------------------------

พระพุทธะ พระธรรมะ และพระสงฆ์ 
ล้วนต่างองค์ เป็นสามพระ หรือไฉน
หรือเป็นองค์ เดียวกัน ที่ชั้นใน 
ดูเท่าไร ก็ไม่เห็น เป็นสามองค์ 
นั่นถูกแล้ว ถ้าดูกัน แต่ชั้นนอก 
คือดูออก มีพุทธะ จอมพระสงฆ์
ได้ตรัสรู้ ซึ่งพระธรรม ทรงจำนง 
สอนพระสงฆ์ ทั้งหลาย ให้รู้ตาม 
แต่เมื่อดู ชั้นใน กลับได้พบ 
ว่าธรรมหนึ่ง ซึ่งอยู่ครบ ในพระสาม
ทั้งพุทธ สงฆ์ หรือว่าองค์ พระธรรมงาม 
ล้วนมีความ สะอาด สว่าง สงบ บรรจบกันฯ
-------------------------------------------------

งานวันเกิดที่ยิ่งใหญ่ใครคนนั้น ฉลองกันในกลุ่มผู้ลุ่มหลง
หลงลาภยศ สรรเสริญ เพลินกมล วันเกิดตนชีพสั้นเร่งวันตาย
ณ มุมหนี่งซึ่งเหงาน่าเศร้าแท้ หญิงแก่แก่ซึ่งหงอยและคอยหาย
โอ้วันนี้ในวันนั้นอันตราย แม่คลอดสายโลหิตแทบปลิดชนม์
วันเกิดลูกนั้นคล้ายวันตายแม่ เจ็บท้องแท้สักเท่าไรก็ไม่บ่น
กว่าอุ้มครรภ์จะคลอดรอดเป็นคน เติบโตจนมาบัดนี้นี่เพราะใคร
แม่เจ็บเจียรขาดใจในวันนั้น กลับเป็นวันลูกฉลองกันผ่องใส
ได้ชีพแล้วก็หลงระเริงใจ ลืมผู้ให้ชีวิตอนิจจา
ไฉนหนอเขาเรียกกันว่าวันเกิด วันผู้ให้กำเนิดจะถูกกว่า
คำอวยพรที่เขียนควรเปลี่ยนมา ให้มารดาเป็นสุขจึงถูกแท้
เลิกจัดงานวันเกิดกันเถิดหนา แล้วหันมาคุกเข่ากราบเท้าแม่
ควรคิดถึงพระคุณอบอุ่นแท้ อย่ามัวแต่จัดงานประจานตัว 
-------------------------------------------------



ผิดแล้วรู้จักแก้ = ที่แท้คือบัณฑิต

ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง
เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย
ถึงสี่อีกทีห้า หกซ้ำ อภัยไฉน ฯ
-------------------------------------------------

ขอพวกเราทั้งหลายจำไว้เถิด 
ว่าการเกิดนี้ลำบากยากนักหนา 
ครั้นคนเราได้กำเนิดเกิดขึ้นมา 
ก็กลับพากันถึงซึ่งความตาย 
(หลวงวิจิตรวาทการ) 

ต้องเวียนเกิดเวียนตายตามบุญบาป 
เมื่อไรทราบธรรมแท้ไม่แปรผัน 
ไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายสบายครัน 
มีเท่านั้นใครหาพบจบกันเอย 
(ท่านพุทธทาสภิกขุ) 

กายนี้ท่านเปรียบดั่งท่อนไม้ 
ครั้นดับไปสมมติว่าเป็นผี 
เครื่องเปื่อยเน่าสะสมถมปฐพี 
เหมือนกันทั้งผู้ดีและเข็ญใจ 
(เจ้าพระยาคลัง หน) 

อันรูปรสกลิ่นเสียงนั้นเพียงหลอก 
ไม่จริงดอกอวิชชาพาให้หลง 
อย่าลืมนะร่างกายไม่เที่ยงตรง 
ไม่ยืนยงทรงอยู่คู่ฟ้าเอย 
(จากหนังสือเก่าโบราณ) 

กลางทะเลอวกาศที่เวิ้งว้าง 
สรรพสิ่งได้ถูกสร้างแปลงไว้ 
จากดินน้ำลมและไฟ 
ก่อเกิดเป็นสิ่งใหม่เรื่อยมา 
เมื่อถึงคราวแตกดับ 
สรรพสิ่งก็หมุนกลับไปหา 
ธรรมชาติเดิมแท้นั้นอีกครา 
เวียนกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น 
(สมภาร พรหมทา) 
-------------------------------------------------

ยามเจ้ามา เอาอะไร มาด้วยเจ้า
เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน
ยามเจ้าไป เจ้าจะ เอาอะไร
เจ้าก็ไป ตัวเปล่า เหมือนเจ้ามา
-------------------------------------------------

ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล
แด่บิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย ขอให้ได้ในกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ได้ร่วมกันกับฉันเทอญ.

บางบทกลอนไม่ทราบผู้ประพันธ์ และไม่ได้ขออนุญาติเผยแพร่ก่อน แต่เห็นซึ่งประโยชน์จากบทประพันธ์นี้ ครูบาอาจารย์คงไม่ว่านะครับ ^_^

ขอพวกเราทั้งหลายจำไว้เถิด
ว่าการเกิดนี้ลำบากยากนักหนา
ครั้นคนเราได้กำเนิดเกิดขึ้นมา
ก็กลับพากันถึงซึ่งความตาย

( หลวงวิจิตรวาทการ) 


ต้องเวียนเกิดเวียนตายตามบุญบาป
เมื่อไรทราบธรรมแท้ไม่แปรผัน
ไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายสบายครัน
มีเท่านั้นใครหาพบจบกันเอย

( ท่านพุทธทาสภิกขุ) 
กายนี้ท่านเปรียบดั่งท่อนไม้
ครั้นดับไปสมมติว่าเป็นผี
เครื่องเปื่อยเน่าสะสมถมปฐพี
เหมือนกันทั้งผู้ดีและเข็ญใจ

( เจ้าพระยาคลัง หน) 


อันรูปรสกลิ่นเสียงนั้นเพียงหลอก
ไม่จริงดอกอวิชชาพาให้หลง
อย่าลืมนะร่างกายไม่เที่ยงตรง
ไม่ยืนยงทรงอยู่คู่ฟ้าเอย

( จากหนังสือเก่าโบราณ) 

กลางทะเลอวกาศที่เวิ้งว้าง
สรรพสิ่งได้ถูกสร้างแปลงไว้
จากดินน้ำลมและไฟ
ก่อเกิดเป็นสิ่งใหม่เรื่อยมา

เมื่อถึงคราวแตกดับ
สรรพสิ่งก็หมุนกลับไปหา
ธรรมชาติเดิมแท้นั้นอีกครา
เวียนกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น

( สมภาร พรหมทา) 




พุทธศาสนสุภาษิต


   

พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา
  • ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
    พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
  • ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
    พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
  • สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
    ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
  • กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
    พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
  • สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
    พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
  • ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
    พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล
           พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก
  • กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
    ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
  • กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
    ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
  • กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
    การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
  • กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
    ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
  • ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
    การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

    พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง 
  • น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
    กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
  • น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
    คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
  • สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
    สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
  • อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
    ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
  • อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
    ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
  • น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
    ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
  • ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
  • ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
    ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
  • ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
    เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
  • น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
    เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
  • น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
    ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
  • สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
  • ขโณ โว มา อุปจฺจคา
    ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
  • อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
    วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
  • กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
    กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง
 พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ
  • โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
    ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
  • โกโธ สตฺถมลํ โลเก
    ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
  • โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
    ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
 พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์
  • ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
    ความจนเป็นทุกข์ในโลก
  • อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
    การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
  • ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
  • สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
 พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย
  • อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
    เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
  • สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
    ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
  • ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
    มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
  • นตฺถิ พาเล สหายตา
    ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
  • ภริยา ปรมา สขา
    ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
 พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน
  • อสชฺฌายมลา มนฺตา
    มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
  • อนุฏฺฐานมลา ฆรา
    เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
  • มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
    ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
  • มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
    ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
 พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์
  • สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
    ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
  • นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
    ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
  • สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
    พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
 พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ
  • สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
    ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
  • ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
    ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
  • น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
    ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
  • อสาธุง สาธุนา ชิเน
    พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
  • ชิเน กทริยํ ทาเนน
    พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
  • สจฺเจนาลิกวาทินํ
    พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
 พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น
  • อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
    ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
  • มนาปทายี ลภเต มนาปํ
    ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
  • เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
    ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
  • ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
    บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
  • ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
    คนควรให้ทาน
  • ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
    พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่
 พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน
  • ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
  • อนุฏฺฐานมลา ฆรา
    เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
  • โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
    โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ
 พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา
  • ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
    ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
  • ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
    ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
  • ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
    ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
  • ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
    ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
  • ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
    ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
  • สมฺภตํ อนุรกฺขติ
    ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
  • สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
    ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
  • สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
    บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
 พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา
  • หทยสฺส สทิสี วาจา
    วาจาเช่นเดียวกับใจ
  • สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
    ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
  • ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
    คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
  • มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
    คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
  • อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
  • สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
    ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
  • ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
  • น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
    ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
  • สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
  • วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม
  • โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
    เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
  • มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
  • นามนุญฺญํ กุทาจนํ
    ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
  • วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
    ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล
 พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร
  • หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
    หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
  • โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
    เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
  • อรติ โลกนาสิกา
    ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
  • มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
    อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ
  • นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
    ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
  • สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
    ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
 พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ
  • หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
    โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
  • สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
    สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
 พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน
  • อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
    คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ
  • สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
    ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
  • อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
    ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน
  • นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
    ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น